วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 16

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16


วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED 3208)
วัน/เดือน/ปี 27 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 102

ความรู้ที่ได้รับ
                                              การจัดนิทรรศการศิลปะ
                      เป็นการรวบผลงานทั้งงานเดี่ยวงานกลุ่มของเแต่ละคนจัดนิทรรศการเพื่อแสดงลผลงานของตนเองให้เพื่อนได้ชื่นชม เพราะในการทำกิจกรรมบ้างครั้งเราอาจจะไม่ได้สังเกตผลงานของคนอื่น จึงมีการรวบรวมลงานเข้าฟ้มและจัดเป็นนิทรรศการขึ้น

รวบรวมผลงานศิลปะ

บรรยากาศในการจัดนิทรรศการ

รูปแบบของการจัดนิทรรศการศิลปะ
          นิทรรศการศิลปะที่นิยมจัดกันโดยทั่วไป แบ่งรูปแบบการจัดได้เป็น 3 แบบ คือ
          1.  นิทรรศการถาวร เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงไว้เพื่อให้ประโยชน์ต่อผู้เข้าชมได้ในเวลายาวนาน ติดตั้งจัดแสดงไว้อย่างมั่นคง ได้แก่ การจัดนิทรรศการของหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ต่างๆ  ซึ่งได้รวบรวมผลงานทางศิลปะ แสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ไว้เพื่อให้สาธารณชน ศึกษาได้ตลอดไป
          2.  นิทรรศการชั่วคราว เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงเรื่องราวเฉพาะกิจ ในโอกาสพิเศษบางโอกาส จะใช้เวลาสั้นๆ  ไม่กี่วัน หรือ 2 – 3 สัปดาห์ การเผยแพร่ความรู้ ข่าวสาร หรือ ประชาสัมพันธ์เรื่องต่างๆ การจัดนิทรรศการวันสำคัญต่างๆ หน่วยงานทางราชการ บริษัท และสถานศึกษา นิยมจัดนิทรรศการประเภทนี้เพราะเป็นการประชาสัมพันธ์ ให้ข่าวสารความรู้ได้เป็นอย่างดี
          3.  นิทรรศการเคลื่อนที่ เป็นนิทรรศการที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดคล้ายกับนิทรรศการชั่วคราว หรือบางคราวก็นำนิทรรศการชั่วคราวไปแสดงเคลื่อนที่ยังสถานที่ต่างๆ  เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สนใจโดยทั่วไป

สถานที่ในการจัดนิทรรศการศิลปะ
        ควรเป็นสถานที่ซึ่งคนส่วนใหญ่รู้จัก เดินทางสะดวกหรือเลือกสถานที่ให้เหมาะสมกับเรื่องราวที่จะจัดนิทรรศการนั้นๆสถานที่จัดนิทรรศการ สามารถแยกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
        1.  การจัดภายนอกหรือกลางแจ้ง ได้แก่ การจัดนิทรรศการที่จัดขึ้นบริเวณที่ว่าง เช่น ลานนอกอาคาร สนามหญ้าระเบียง การจัดนิทรรศการภายนอกใช้จัดกับสิ่งของ เรื่องราวและตัวอย่างงานที่มีขนาดใหญ่ หรือเรื่องที่จัดขึ้นบางครั้งก็มีการจัดสาธิตประกอบ ซึ่งไม่เหมาะที่จะจัดภายในอาคาร
        2.  การจัดภายในหรือในร่ม ได้แก่ การจัดนิทรรศการที่จัดขึ้นในห้องต่างๆ  เช่น ห้องเรียน ห้องโถงกว้างๆ  หรือห้องนิทรรศการโดยเฉพาะ การจัดนิทรรศการภายในใช้กับสิ่งของที่ต้องจัดเป็นสัดส่วน เหมาะสมกับการจัดเฉพาะในร่ม ตลอดจนการดูแลรักษาอาจเป็นระยะเวลายาวนาน และสิ่งของที่นำมาจัดนั้นมีค่าควรอยู่ภายในร่มมากกว่าภายนอกหรือกลางแจ้ง

หลักการจัดนิทรรศการศิลปะ        
       การจัดนิทรรศการศิลปะมีหลักในการจัด ดังนี้
       1. การติดภาพหรือตัวอย่างผลงาน
              1.1 ภาพหรือตัวอย่างผลงานที่สำคัญ ควรจัดแยกจากภาพอื่นๆ โดยเน้นให้เด่นชัดและควรมีขนาดใหญ่โตกว่าภาพอื่นๆ  เพื่อดึงดูดความสนใจ
              1.2 ใช้สีตกแต่งให้น่าสนใจ โดยเฉพาะภาพที่ไม่มีสี ควรใช้สีมาช่วยเน้นให้สดใส เด่นชัดมากขึ้นด้วยการเน้นพื้นหรือกรอบภาพ
              1.3 ภาพหรือตัวอย่างผลงาน ไม่ควรมีมากเกินไป ควรคัดเลือกเฉพาะภาพที่จำเป็นและมีความสำคัญมาจัดแสดง
       2. การเขียนตัวอักษร
       การจัดนิทรรศการบางครั้งต้องใช้ตัวหนังสือเพื่ออธิบายให้ผู้ชมได้เข้าใจ โดยมีหลักในการเขียนดังนี้
       2.1  ควรเขียนให้อ่านได้สะดวกในระยะห่าง 12 – 15 ฟุต
       2.2  ความยาวของข้อความอ่านได้ตามสบายในเวลา ประมาณ 15 – 30 วินาที
       2.3  ความสูงของตังอักษรประมาณ 1 – 3 นิ้ว ส่วนหัวเรื่องควรใหญ่กว่าตัวอื่นๆ
       2.4  ควรใช้ภาษาแบบง่ายๆ  อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที
       2.5  แบบของตัวอักษรควรเป็นแบบราชการ หรือ แบบที่อ่านง่าย และควรใช้เป็นแบบเดียวกันจะดูดีกว่าหลายๆ แบบ
       2.6  สีของตัวอักษรกับพื้นหลังให้ติดกัน เพื่อสะดวกในการอ่าน
       3. การตั้งวางสิ่งของเพื่อจัดแสดง
       ผลงานบางชนิดนำมาตั้งหรือวางเพื่อแสดง ได้แก่ งานประติมากรรมหรือสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ  อาจเป็นการตั้งกลางแจ้งหรือในร่มตามความเหมาะสม ถ้าเป็นงานขนาดใหญ่ต้องตั้งในบริเวณพื้นที่กว้างมากๆ  งานขนาดเล็กอาจตั้งวางบนโต๊ะก็พอ
       ผลงานบางอย่างต้องใช้แขวนหรือห้อยเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ สร้างบรรยากาศของงานให้เป็นไปในอีกลักษณะหนึ่งควรแขวนให้อยู่ในระดับสายตาหรือสูงกว่าเล็กน้อย



การนำเสนอผลงาน สอนศิลป์ของทุกคน


การนำไปใช้
    สามารถนำหลักการจัดนิทรรศการหรือการแสดงผลงานที่ถูกต้องไปปรับใช้การการจัดสดงลงานให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม




วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15


วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED 3208)
วัน/เดือน/ปี 22 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 102

ความรู้ที่ได้รับ
    วันนี้เป็นการนำเสนอผนการจัดศิลปะสร้างสรรค์ของแต่กลุ่ม จำนวน 5 กลุ่มดังนี้


              กลุ่มที่ 1  หน่วยยานพาหนะ (กลุ่มตนเอง)

  ครูแนะนำวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม โดยมีกิจกรรมดังนี้ 1.กิจกรรมวาดภาพด้วยสีเทียน
2.พับกระดาษยานพาหนะ 3. ปั้นแป้งโดว์ยานพาหนะ 4.เพ้นท์ก้อนหิน (กิจกรรมพิเศษ)

                                           โต๊ะที่ 1 วาดภาพอิสระด้วยสีเทียน

ผลงาน วาดภาพอิสระด้วยสีเทียน หน่วยยานพาหนะ

                                                   โต๊ะที่ 2 การพับกระดาษ (ยานพาหนะ)

ผลงานพับกระดาษ
                                                   โต๊ะที่ 3 การปั้นแป้งโดว์ (ยานพาหนะ)

ผลงานการปั้นดินน้ำมัน
                               
                                                  โต๊ะที่ 4  เพ้นท์ก้อนหิน (กิจกรรมพิเศษ)



                                       กลุ่มที่ 2    หน่วยสัตว์
      มีกิจกรรมดังนี้  

ผลงานวาดภาพระบายสี หน่วย สัตว์

ผลงานการพับ

ผลงานการประดิษฐ์เพื่อนสัตว์ไอศกรีม

กลุ่มที่ 3 หน่วยข้าว
    มีกิจกรรมดังนี้

ผลงานวาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ

ผลงานปั้นดินน้ำมัน

ผลงานปะติดเมล็ดข้าว


                                               กลุ่มที่ 4 หน่วย กล้วย
   มีกิจกรรมดังนี้

ผลงานปั้นแป้งโดว์ 

ผลงานฉีกปะภาพกล้วย

ผลงานวาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ

ผลงานพิมพ์ภาพจากก้านกล้วย

                                      
                                         กลุ่มที่  5  หน่วยธรรมชาติ
มีกิจกรรมดังนี้

ผลงานวาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ


ผลงานปั้นดินน้ำมัน

การนำไปใช้
   สามารถนำกิจกรรมทั้ง 5 กลุ่มไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนสอนศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม

การประเมิน

     ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีความตั้งใจในการสอนของอาจารย์ มีการเขียนแผนการการสอนมาส่งตามเวลา 
     ประเมินเพื่อน  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการแสดงความคิดเห็นในแผนการสอน มีความร่วมมือในต่ละกลุ่มเป็นอย่างดี
     ประเมินอาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีคำแนะนำในการเขียนแผนการสอนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และสามารถจัดกิจกรรมให้เหมาะกับเด็กปฐมวัย

























วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14


วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED 3208)
วัน/เดือน/ปี 15 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 102

   



 หมายเหตุ   ไม่มีการเรียนเนื่องจากเป็นหยุดช่วงเทศกาล วันสงกรานต์ 13-15 เมษายน 2558


วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13


วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED 3208)
วัน/เดือน/ปี 9 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 102

ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์ได้อธิบายวิธีการเขียนผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย


การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์ของดิฉัน



การอธิบายการเรียนการสอนแบบไฮสโคป




แนวคิดการสอนแบบ ไฮสโคป
            โปรแกรมไฮสโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะ สมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น
ทฤษฎีที่มีอิทธิพล
           ในระยะเริ่มต้น การพัฒนาโปรแกรมไฮสโคปใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) เป็นพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนซึ่งเน้น การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) ระยะต่อมามีการผสมผสานทฤษฎี และแนวคิดอื่นๆ เช่น ทฤษฎีของอีริกสัน (Erikson) ในเรื่องการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆ อย่างอิสระและทฤษฎีของ ไวก๊อตสกี้ (Vygotsky) ในเรื่อง ปฏิสัมพันธ์และการใช้ภาษา เป็นต้น
ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างยิ่ง การเรียนการสอนทุกรูปแบบจะส่งผลต่อเด็กในการเรียนรู้และส่งผลต่อพัฒนาการด้านๆของเด็กด้วย
 การเรียนการสอนปฐมวัยจะต้องส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกาย ทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก รวมถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายและความคล่องตัวซึ่งส่งผลให้เด็กมีสุขภาพที่ดี ทั้งในด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ ด้านสติปัญญาและด้านร่างกาย  เด็กๆจะสามารถแสดงความเป็นตัวของตัวเองและจะเกิดความภาคภูมิใจ เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ เด็กเริ่มมีความคิดริเริ่ม มีความสร้างสรรค์และมีจินตนาการ รู้จักการแก้ปัญหา ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบจะมีจุดเน้นสำคัญของรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
            การเรียนการสอนแบบไฮสโคป ( High/Scope  Approach )    การสอนเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้พัฒนาคน  การเรียนรู้และการสอนทำให้มีการคิดเชื่อมโยงความรู้ได้อย่างรวดเร็ว  การศึกษาปฐมวัยจึงเป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็ก  6  ขวบแรก  เป็นการจักการศึกษาเพื่อการดูแล  และสร้างเสริมเด็กให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  ด้วยการเรียนรู้ที่ถูกต้องและมีความชัดเจน  ลักษณะการจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งไปที่การพัฒนาเด็ก  จิตใจของเด็กและอนาคตของเด็ก การสอนเด็กปฐมวัยไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้ แต่เป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนาการต่างๆให้เป็นไปตามวัยและวุฒิภาวะของตัวเด็กเอง
            รูปแบบการเรียนการสอนของไฮสโคปเป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่น่าสนใจ มีการจัดการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติตามความสนใจของเด็ก มีวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้และพัฒนาการตามวัยของเด็ก   การสอนแบบไฮสโคปมีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจย์ (Piaget’s Theory)ว่าด้วยพัฒนาทางสติปัญญาที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติที่เด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive process of learning)เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของตน การประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน ช่วยให้เด็กเกิดความรู้ขึ้น ด้วยพื้นฐานความเชื่อที่ว่าเด็กเป็นผู้ใฝ่รู้เด็กสามารถสร้างความรู้ได้จากประสบการณ์ที่มีความหมาย
            โดยกลไกการเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบไฮสโคป คือให้เด็กริเริ่มกิจกรรมด้วยตนเอง มีการเลือกสื่อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะเรียนโดยให้เด็กการลงมือปฏิบัติและสัมผัสสื่อด้วยมือของตนเองโดยมีครูผู้สอนเป็นผู้สนับสนุนและคอยกระตุ้นเร้าให้เด็กเกิดการดำเนินกิจกรรมต่อไป
            หลักการเรียนการสอนแบบไฮสโคป เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัดกระทำกับอุปกรณ์ หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรง โดยใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ
  1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
  2. การปฏิบัติ (Do) คือการลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
  3. การทบทวน (Review) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์ ช่วงนี้จะมีการเล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่าตนเอง (เด็ก) สามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงแผนอย่างไร จุดประสงค์ของการทบทวนคือ เพื่อสะท้อนสิ่งที่เด็กได้ทำ ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติและผลงานที่ทำ รวมถึงเล่าประสบการณ์ต่างๆที่ได้ทำ
หลักการเรียนการสอนที่สำคัญคือ
  1. เด็กเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการวางแผน ลงมือปฏิบัติและทบทวนผลงานของตนเองโดยมีครูเป็นผู้สังเกต ให้คำปรึกษา แนะนำ
  2. การใช้เวลาดำเนินกิจกรรมอาจมีช่วงยาวกว่ากิจกรรมปกติ เช่นนานกว่า 60 นาที
  3. ศูนย์หรือมุมการเรียนรู้ต้องมีอุปกรณ์พร้อมใช้ มีความหลากหลาย มีเครื่องหมายแสดงการวางชัดเจน ง่ายสำหรับเด็กในการตัดสินใจเลือกใช้
  4. ครูและผู้ปกครองมีหน้าที่สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กด้วยการสนับสนุนอุปกรณ์และให้คำแนะนำปรึกษาให้ความสนใจในความสามารถและผลงานของเด็ก
  5. เด็กได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ครู 1 คนต่อเด็ก 5-6 คน หรือกลุ่มใหญ่ ครู 1 คน ต่อเด็ก  25 คน
               การนำโปรแกรมของไฮสโคปมาใช้นั้น ครูผู้สอนจะต้องมีความเชื่อก่อนว่าเด็กสามารถเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ ในการจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนตามมุมต่างๆ ควรมีไม่ต่ำกว่า 5 มุม เช่น มุมบ้าน  มุมดนตรี  มุมบล๊อก  มุมวิทยาศาสตร์  มุมหมอ เป็นต้น 
           โปรแกรมการจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคปเน้นเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี การมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ซึ่งต้องเริ่มต้นจากการสร้างความไว้วางใจ ครูผู้สอนที่ดีจะต้องสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับเด็ก   การที่เด็กได้ลงมือทำงานหรือกิจกรรมตามความสนใจของตัวเด็กเอง จะทำให้เด็กเกิดความสนุกในการเรียนรู้ที่ทำกิจกรรม การทำกิจกรรมควรเป็นไปตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ทำให้เด็กได้ฝึกสมาธิทำให้เด็กเกิดปัญญา ฝึกความมีระเบียบวินัย  ฝึกการคิดอย่างมีความหมาย ผลที่จะเกิดตามมาถือเป็นความสำเร็จของเด็กๆในการได้ลงมือปฎบัติกิจกรรมกับเพื่อนๆและบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข


การนำไปใช้
   สามารถนำหลักการเขียนแผนศิลปะสร้างสรรค์ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

การประเมิน
     ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีความตั้งใจในการสอนของอาจารย์ มีการเขียนแผนการการสอนมาส่งตามเวลา
     ประเมินเพื่อน  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการแสดงความคิดเห็นในแผนการสอน
     ประเมินอาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีคำแนะนำในการเขียนแผนการสอนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และสามารถจัดกิจกรรมให้เหมาะกับเด็กปฐมวัย


วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

งานสอนศิลป์

งานสอนศิลป์  อัลบั้มบอลลูน


งานประดิษฐนี้อาจารย์ได้ให้ไปศึกษาสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถสอนเด็กปฐมวัย ดิฉันจึงคิดว่างานชิ้นนี้เหมาะสมกับเด็ก และเป็นเรื่องง่ายๆเด็กสามารถทำเองได้
  
อุปกรณ์
1.กระดาษลัง
2.สีน้ำหรือสีโปสเตอร์
3พู่กัน
4.กรรไกร
5.กาว
6.เชือกสำหรับร้อย
7.ที่เจาะรู
8.ดินสอ

วิธีทำ
   1. วาดรูปวงกลมลงบนกระดาษแข็ง 2 วง หลังจากนั้นใช้กรรไกร และให้วงกลมอีกวงหนึ่งเป็นฐานของกรอบรูปส่วนอีก1 วง เราจะวาดกรอบสี่เหลี่ยมไว้สำหรับเป็นกรอบใส่รูป โดยเด็กๆจะมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบของตนเอง

 2.ใช้สีน้ำหรือสีโปสเตอร์ระบายสีลงบนกระดาษเป็นรูปภาพตามจินตนาการ โดยดิฉันทำเป็นรูปเต่าทอง




3. ทากาวโดยเอาส่วนที่เป็นฐานละตัวด้านบนประกบกัน เว้นส่วนที่เราจะใส่รูปไว้ เพื่อที่จะใช้สำหรับสอดรูป

4.เจาะรูไว้สำหรับร้อยเชือก

5.นำเชือกที่เตรียมไว้รอยตรงรูที่เจาะไว้สำหรับห้อยกรอบรูป


6.หลังจากนั้นเลือกรูปภาพมาใส่ และแล้วก็ได้กรอบรูปที่เสร็จเรียบร้อย

ชื่อผลงาน กรอบรูปเต่าทอง






วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

งานปั้นดินน้ำมัน

วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED 3208)
วัน/เดือน/ปี  25 มีนาคม 2558
กลุ่มเรียน 102

งานปั้นดินน้ำมันบนแผ่นซีดี

   อุปกรณ์
     1.แผ่นซีดี
     2.ดินน้ำมัน
     3.น้ำยาเคลือบเล็บสีใส

ขั้นตอนการทำ
   ในปั้นดินน้ำมันลงบนแผ่นซีดีเป็นเรื่องราวหรือภาพใดก้ได้ตามที่เราต้องการโดยในการปั้นต้องปั้นแบบบาง หรือนูนต่ำเพื่อจะทำให้ปิดซีดีได้ 


  หลังจากนั้นใช้น้ำยาเคลือบเล็บทาลงบนดินน้ำมันเพื่อให้เกิดความเงาทำให้ดูสวยงาม


นี่คือผลงานเสร็จสมบูรณ์




วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12


วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED 3208)
วัน/เดือน/ปี  30 มีนาคม 2558
กลุ่มเรียน 102

ความรู้ที่ได้รับ
       การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์
  1. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  2. วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาและความสัมพันธ์ของ มาตราฐานคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ ตัวบ่งชี้
  3. วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ
  4. กำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์
  5. เขียนแผนการจัดประสบการณ์
การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
ขั้นที่ 1 เลือกเรื่อง : สังเกตจากความสนใจของเด็กและเรื่องต้องไม่กว้างจนเกินไป
ขั้นที่ 2 ระดมความคิด : เป็น Mind-mapping
ขั้นที่ 3 คิดกิจกรรม : ตามความริเริ่มของครูและเด็ก และควรแยกตาม 6 กิจกรรมหลัก
ขั้นที่ 4 จัดกิจกรรมตามพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ขั้นที่ 5 จัดทำแผนการจัดประบสบการณ์ ทำการบันทึกการสอน


ตัวอย่างแผนจัดประสบการณ์


การนำไปประยุกต์ใช้
   สารมารถนำปรับใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์ได้อย่างถูกต้อง

การประเมิน
     ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังแต่ไม่ค่อยรู้เรื่องเนื่องจากในวันนี้เพื่อนเยอะทำให้ต้องมานั่งแถวเกืบหลังสุดเลยฟังอาจารย์ไม่ค่อยรู้เรื่อง
     ประเมินเพื่อน  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย บางคนตั้งใจฟังบางคนก็คุยกันเรืยนรวมกันเยอะๆทำให้ดูวุ่นวาย
     ประเมินอาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี มีสื่อต่างๆอธิบายได้อย่างเข้าใจครบถ้วน