บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED 3208)
วัน/เดือน/ปี 9 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 102
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ได้อธิบายวิธีการเขียนผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย
การนำไปใช้
สามารถนำหลักการเขียนแผนศิลปะสร้างสรรค์ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
วัน/เดือน/ปี 9 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 102
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ได้อธิบายวิธีการเขียนผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย
การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์ของดิฉัน
การอธิบายการเรียนการสอนแบบไฮสโคป
แนวคิดการสอนแบบ ไฮสโคป
โปรแกรมไฮสโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะ สมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น
ทฤษฎีที่มีอิทธิพล
ในระยะเริ่มต้น การพัฒนาโปรแกรมไฮสโคปใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) เป็นพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนซึ่งเน้น การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) ระยะต่อมามีการผสมผสานทฤษฎี และแนวคิดอื่นๆ เช่น ทฤษฎีของอีริกสัน (Erikson) ในเรื่องการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆ อย่างอิสระและทฤษฎีของ ไวก๊อตสกี้ (Vygotsky) ในเรื่อง ปฏิสัมพันธ์และการใช้ภาษา เป็นต้น
ในระยะเริ่มต้น การพัฒนาโปรแกรมไฮสโคปใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) เป็นพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนซึ่งเน้น การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) ระยะต่อมามีการผสมผสานทฤษฎี และแนวคิดอื่นๆ เช่น ทฤษฎีของอีริกสัน (Erikson) ในเรื่องการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆ อย่างอิสระและทฤษฎีของ ไวก๊อตสกี้ (Vygotsky) ในเรื่อง ปฏิสัมพันธ์และการใช้ภาษา เป็นต้น
ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างยิ่ง การเรียนการสอนทุกรูปแบบจะส่งผลต่อเด็กในการเรียนรู้และส่งผลต่อพัฒนาการด้านๆของเด็กด้วย
การเรียนการสอนปฐมวัยจะต้องส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกาย ทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก รวมถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายและความคล่องตัวซึ่งส่งผลให้เด็กมีสุขภาพที่ดี ทั้งในด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ ด้านสติปัญญาและด้านร่างกาย เด็กๆจะสามารถแสดงความเป็นตัวของตัวเองและจะเกิดความภาคภูมิใจ เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ เด็กเริ่มมีความคิดริเริ่ม มีความสร้างสรรค์และมีจินตนาการ รู้จักการแก้ปัญหา ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบจะมีจุดเน้นสำคัญของรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
การเรียนการสอนแบบไฮสโคป ( High/Scope Approach ) การสอนเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้พัฒนาคน การเรียนรู้และการสอนทำให้มีการคิดเชื่อมโยงความรู้ได้อย่างรวดเร็ว การศึกษาปฐมวัยจึงเป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็ก 6 ขวบแรก เป็นการจักการศึกษาเพื่อการดูแล และสร้างเสริมเด็กให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ด้วยการเรียนรู้ที่ถูกต้องและมีความชัดเจน ลักษณะการจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งไปที่การพัฒนาเด็ก จิตใจของเด็กและอนาคตของเด็ก การสอนเด็กปฐมวัยไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้ แต่เป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนาการต่างๆให้เป็นไปตามวัยและวุฒิภาวะของตัวเด็กเอง
รูปแบบการเรียนการสอนของไฮสโคปเป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่น่าสนใจ มีการจัดการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติตามความสนใจของเด็ก มีวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้และพัฒนาการตามวัยของเด็ก การสอนแบบไฮสโคปมีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจย์ (Piaget’s Theory)ว่าด้วยพัฒนาทางสติปัญญาที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติที่เด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive process of learning)เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของตน การประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน ช่วยให้เด็กเกิดความรู้ขึ้น ด้วยพื้นฐานความเชื่อที่ว่าเด็กเป็นผู้ใฝ่รู้เด็กสามารถสร้างความรู้ได้จากประสบการณ์ที่มีความหมาย
โดยกลไกการเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบไฮสโคป คือให้เด็กริเริ่มกิจกรรมด้วยตนเอง มีการเลือกสื่อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะเรียนโดยให้เด็กการลงมือปฏิบัติและสัมผัสสื่อด้วยมือของตนเองโดยมีครูผู้สอนเป็นผู้สนับสนุนและคอยกระตุ้นเร้าให้เด็กเกิดการดำเนินกิจกรรมต่อไป
หลักการเรียนการสอนแบบไฮสโคป เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัดกระทำกับอุปกรณ์ หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรง โดยใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ
- การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
- การปฏิบัติ (Do) คือการลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
- การทบทวน (Review) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์ ช่วงนี้จะมีการเล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่าตนเอง (เด็ก) สามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงแผนอย่างไร จุดประสงค์ของการทบทวนคือ เพื่อสะท้อนสิ่งที่เด็กได้ทำ ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติและผลงานที่ทำ รวมถึงเล่าประสบการณ์ต่างๆที่ได้ทำ
หลักการเรียนการสอนที่สำคัญคือ
- เด็กเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการวางแผน ลงมือปฏิบัติและทบทวนผลงานของตนเองโดยมีครูเป็นผู้สังเกต ให้คำปรึกษา แนะนำ
- การใช้เวลาดำเนินกิจกรรมอาจมีช่วงยาวกว่ากิจกรรมปกติ เช่นนานกว่า 60 นาที
- ศูนย์หรือมุมการเรียนรู้ต้องมีอุปกรณ์พร้อมใช้ มีความหลากหลาย มีเครื่องหมายแสดงการวางชัดเจน ง่ายสำหรับเด็กในการตัดสินใจเลือกใช้
- ครูและผู้ปกครองมีหน้าที่สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กด้วยการสนับสนุนอุปกรณ์และให้คำแนะนำปรึกษาให้ความสนใจในความสามารถและผลงานของเด็ก
- เด็กได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ครู 1 คนต่อเด็ก 5-6 คน หรือกลุ่มใหญ่ ครู 1 คน ต่อเด็ก 25 คน
การนำโปรแกรมของไฮสโคปมาใช้นั้น ครูผู้สอนจะต้องมีความเชื่อก่อนว่าเด็กสามารถเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ ในการจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนตามมุมต่างๆ ควรมีไม่ต่ำกว่า 5 มุม เช่น มุมบ้าน มุมดนตรี มุมบล๊อก มุมวิทยาศาสตร์ มุมหมอ เป็นต้น
โปรแกรมการจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคปเน้นเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี การมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ซึ่งต้องเริ่มต้นจากการสร้างความไว้วางใจ ครูผู้สอนที่ดีจะต้องสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับเด็ก การที่เด็กได้ลงมือทำงานหรือกิจกรรมตามความสนใจของตัวเด็กเอง จะทำให้เด็กเกิดความสนุกในการเรียนรู้ที่ทำกิจกรรม การทำกิจกรรมควรเป็นไปตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ทำให้เด็กได้ฝึกสมาธิทำให้เด็กเกิดปัญญา ฝึกความมีระเบียบวินัย ฝึกการคิดอย่างมีความหมาย ผลที่จะเกิดตามมาถือเป็นความสำเร็จของเด็กๆในการได้ลงมือปฎบัติกิจกรรมกับเพื่อนๆและบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข
โปรแกรมการจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคปเน้นเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี การมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ซึ่งต้องเริ่มต้นจากการสร้างความไว้วางใจ ครูผู้สอนที่ดีจะต้องสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับเด็ก การที่เด็กได้ลงมือทำงานหรือกิจกรรมตามความสนใจของตัวเด็กเอง จะทำให้เด็กเกิดความสนุกในการเรียนรู้ที่ทำกิจกรรม การทำกิจกรรมควรเป็นไปตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ทำให้เด็กได้ฝึกสมาธิทำให้เด็กเกิดปัญญา ฝึกความมีระเบียบวินัย ฝึกการคิดอย่างมีความหมาย ผลที่จะเกิดตามมาถือเป็นความสำเร็จของเด็กๆในการได้ลงมือปฎบัติกิจกรรมกับเพื่อนๆและบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข
สามารถนำหลักการเขียนแผนศิลปะสร้างสรรค์ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
การประเมิน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีความตั้งใจในการสอนของอาจารย์ มีการเขียนแผนการการสอนมาส่งตามเวลา
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการแสดงความคิดเห็นในแผนการสอน
ประเมินอาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีคำแนะนำในการเขียนแผนการสอนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และสามารถจัดกิจกรรมให้เหมาะกับเด็กปฐมวัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น