วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4


วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED 3208)
วัน/เดือน/ปี  4-5 กุมภาพันธ์ 2558
กลุ่มเรียน 102


ความรู้ที่ได้รับ
 เนื้อหาที่เรียน  วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย
  วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะ
    วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป เช่น กระดาษ สี กาว ฯลฯ
         วัสดุที่ใช้ในการทำผลงานทางศิลปะอาจเป็นวัสดุที่มีขายทั่วไปหรือเป็นวัสดุจากธรรมชาติ หรือที่มีในท้องถิ่น และเหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของเด็ก หลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตรายกับเด็ก เช่น วัสดุที่มีปลายแหลม   คม แตกหักง่าย  ภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมี  หรือน้ำยาต่างๆที่ยังอาจติดค้าง  หรือมีกลิ่นระเหยที่เป็นอันตรายต่อเด็ก
วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย
   -  กระดาษ  เป็นวัสดุที่สามารถนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ    ได้อย่างกว้างขวาง เพราะ หาง่าย ราคาไม่แพง เป็นวัสดุที่เด็กคุ้นเคย เช่น กระดาษวาดเขียน  กระดาษปรู๊ฟ กระดาษโปสเตอร์สีต่างๆ กระดาษมันปู กระดาษจากนิตยสารที่ไม่ใช้แล้ว เป็นต้น    
    การนำกระดาษมาใช้กับเด็กครูควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งานของกิจกรรมนั้นๆ เพื่อจะไดhงานที่ดี สวยงามและเหมาะสม    ไม่ควรใช้กระดาษที่มีราคาแพงจนเกินไป
    กระดาษวาดเขียน  ซึ่งมีความหนาไม่เท่ากัน ที่เรียกเป็นปอนด์ มี 60  80  100 ใช้ได้ดีกับงานวาดรูป ระบายสีทุกชนิดสำหรับเด็ก

  กระดาษโปสเตอร์  มีทั้งชนิดหน้าเดียว และสองหน้า ทั้งหนาและบาง สีสดใส หลากสี ราคาค่อนข้างแพง ใช้ในงานตัด ประดิษฐ์เป็นงานกระดาษสามมิติเป็นส่วนมาก


 กระดาษมันปู  เป็นกระดาษผิวเรียบมันด้านหนา ด้านหลังเป็นสีขาว มีสีทุกสี เนื้อบาง เหมาะกับการทำศิลปะประเภทฉีก ตัด พับ ปะกระดาษ
กระดาษจากนิตยสาร  เป็นกระดาษที่เหมาะในการนำมาใช้กับเด็กเล็กๆ เพราะไม่ต้องซื้อหา             เพียงแต่สะสมไว้ ซึ่งสามารถใช้แทนกระดาษมันปูได้เป็นอย่างดี


  กระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นกระดาษที่ใช้ได้เช่นเดียวกับกระดาษนิตยสาร แต่จะบางกว่า แต่หมึกอาจเลอะมือเด็กได้มากกว่า แต่ก็มีขนาดใหญ่ใช้ในการรองปูโต๊ะหรือพื้นกันเปื้อน ใช้ในงานที่ต้องการกระดาษชิ้นใหญ่ๆ เช่นการทำหุ่นตัวใหญ่ๆ


สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย 
สี เป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจของเด็กเป็นอย่างมาก สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย เช่น สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีจากธรรมชาติต่างๆ สีแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมแต่ละประเภทที่จัดให้กับเด็ก
    สีเทียน ( Caryon )  คือสีที่ผสมกับขี้ผึ้ง    แล้วทำเป็นแท่ง มีหลายสีหลายขนาด สีเทียนที่ดีควรมีสีสด ไม่มีไขเทียนมากเกินไป  สีเทียนที่มีราคาถูกมักมีส่วนผสมของขี้ผึ้งมากกว่าเนื้อสี เมื่อนำมาใช้จะได้สีอ่อนๆ ใสๆ ไม่ชัดเจน มีเทียนไขเกาะกระดาษหนา ควรเลือกชนิดที่มีเนื้อสีมากกว่าเนื้อเทียน มีสีสด แท่งโต เพื่อเด็กหยิบจับถนัดมือกว่าแท่งเล็กและไม่หักง่าย หากซื้อเป็นกล่องควรเปิดดูที่มีสีสดๆ สีเข้มๆมากกว่าสีอ่อนๆ  
 สีชอล์กเทียน (oil pastealเป็นสีที่มีราคาแพงกว่าสีเทียนธรรมดา โดยทั่วไปคล้ายสีเทียน เป็นสีชอล์กที่ผสมน้ำมันหรือไข สีสดใส เนื้อนุ่ม สีหนา เมื่อระบายด้วยสีชนิดนี้แล้ว สามารถใช้เล็บ นิ้วมือ หรือกระดาษทิชชู ตกแต่ง เกลี่ยสีให้เข้ากันคล้ายรูปที่ระบายด้วยสีน้ำมัน สีชอล์กมักจะทำเป็นแท่งกลมเล็กๆ และมีสีมากเกินไปเหมาะสำหรับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก 
     
  สีเทียนพลาสติก (plastic crayon)  ผลิตขึ้นจากสีและพลาสติกผสม ทำเป็นแท่งเล็กๆ แข็ง มีสีสดหลายสี ใช้ระบายสีง่าย เหลาได้เหมือนดินสอ จึงสามารถระบายในส่วนที่มีรายละเอียดได้และสามารถใช้ยางลบธรรมดาลบบางส่วนที่ไม่ต้องการออกได้ แต่มีราคาแพงมาก
       
  สีเมจิก  (Water colorบรรจุเป็นด้ามคล้ายปากกามี 2 ชนิด คือชนิดปลายแหลมและปลายตัด  เป็นสีที่สว่างสวยงามและสดใส เหมาะสำหรับการขีดเขียนลายเส้น หรือการเขียนตัวหนังสือแต่อาจไม่เหมาะสำหรับเด็กระบายสีเนื้อที่กว้าง แต่เด็กเล็กๆ จะชอบเพราะใช้สะดวก สีสด แห้งเร็ว ถ้าเปื้อนล้างออกง่าย

ปากกาปลายสักหลาด(felt pen)บางทีเรียก ปากกาเคมี เป็นปากกาพลาสติก ปากเป็นสักหลาดแข็ง ภายในบรรจุด้วยหลอดสี เมื่อเขียนหมึกจะไหลซึมผ่านปากสักหลาดมาสู่พื้นกระดาษให้สีสดใสมาก ไม่เหมาะในการระบายพื้นที่กว้าง ถ้าทิ้งไว้นานๆ สีจะซีดเร็ว ควรให้เด็กสวมปลอกปากกาทุกครั้งที่เขียนเสร็จ
ดินสอ (pencil)  เด็กๆ ส่วนมากอยากใช้ดินสอในการวาดรูป เหมือนผู้ใหญ่ทำกัน แต่อย่างไรก็ดี ไม่ควรใช้ดินสอเป็นเครื่องมือในการวาดรูปสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี เพราะการเสดงออกตามธรรมชาติของเด็กจะหดหายไป 

ดินสอสี (color pencil)

หรือสีไม้ ดินสอสีก็เช่นเดียวกับดินสอ คือเหมาะสำหรับเด็กโตๆ มากกว่าเด็กเล็กๆ เพราะนอกจากจะหัก ทู่ง่าย ต้องเหลาบ่อยๆ มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับเทียนหรือสีประเภทผสมน้ำ

สีที่ต้องผสมน้ำหรือเป็นน้ำ
    สีประเภทนี้ ได้แก่ สีฝุ่น สีน้ำ  สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร   สีพลาสติกผสมน้ำ ฯลฯ   สีแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะ

สีฝุ่น (tempera)  เป็นสีผง ทึบแสง มีหลายสี ใช้ผสมน้ำให้ใสข้นเป็นครีมอาจผสมกาวหรือแป้งเปียกด้วย ขึ้นอยู่กับงานแต่ละชนิด มีราคาถูกกว่าสีประเภทอื่น เก็บไว้ใช้ได้นาน มีขายตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป เวลาใช้ต้องผสมกับของเหลวที่เหมาะสม นอกจากน้ำแล้วก็มีน้ำนม น้ำแป้งและน้ำสบู่


สีโปสเตอร์ (poster color) ก็คือสีฝุ่นที่ผลิตบรรจุขวดขาย เป็นสีทึบแสง มีหลายสีใช้ผสมน้ำ เป็นสีที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมใช้เลย ลักษณะคล้ายครีมมีราคาแพงกว่าสีฝุ่น เป็นสีที่เด็กๆ ใช้ง่าย แต่ถ้าต้องการสีอ่อนๆ จะผสมน้ำไม่ได้ จะต้องใช้สีขาวผสมจะได้สีอ่อน ระบายได้เรียบ

  สีน้ำ (water color) เป็นสีโปร่งแสง ไหล ผสมกลมกลืนง่าย สามารถใช้ในส่วนที่เป็นรายละเอียดได้ มีทั้งที่เป็นหลอดและก้อน ใช่กับพู่กันกลมหรือพู่กันแบนขนนุ่มช่วยระบาย น้ำเป็นตัวละลายให้ได้สีเข้มหรือเจือจางต่างกันออกไป เด็กเล็กๆ มักจะไม่ค่อยชอบใช้สีน้ำ เพราะเด็กช่วงนี้หากใช้สีน้ำในช่วงนี้ เด็กจะต้องคอยใช้พู่กันจามสีอยู่เสมอจึงวาดได้ ทำให้กระดาษเป็นรอยจุดๆ เส้นต่างๆ จะไหลไปถึงกัน ทำให้ภาพไม่ชัดเจน จนในที่สุดก็ดูไม่รู้เรื่อง ทำให้เด็กเบื่อเพราะควบคุมสียาก จึงเหมาะกับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก
    สีพลาสติก (plastic or acrylic) มีขายตามร้านวัสดุก่อสร้าง บรรจุในกระป๋องหลายขนาด และแบบในหลอด ราคาสูง มีเนื้อสีข้น ระบายได้เนื้อสีหยาบ มีกลิ่น เหมาะกับงานใหญ่ที่ไม่ต้องใช้รายละเอียดมากนัก สามารถใช้แทนสีฝุ่นหรือสีน้ำได้ ข้อเสียคือ แปรงหรือพู่กันจะต้องจุ่มไว้ในน้ำเสมอ ขณะที่พักการใช้ชั่วคราว และจะต้องล้างอย่างดีหลังจากเลิกใช้แล้ว เนื่องจากสีมีคุณสมบัติแห้งเร็วจะทำให้พู่กันหรือแปรงแข็งใช้ไม่ได้

สีจากธรรมชาติจะเป็นสีที่ได้จาก ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ลำต้น ราก หรือ เปลือกของพืช ดิน ฯลฯ เป็นสีที่ไม่สารเคมีเจือปน จึงไม่เป็นอันตราย แก่เด็ก อย่างไรก็ตาม สีจากธรรมชาติบางชนิดก็อาจเป็นอันตรายที่เกิดจากอาการแพ้ในรูปแบบต่างๆ ได้
ดินเหนียว หรือดินตามธรรมชาติมีมากในต่างจังหวัด ขุดหาได้ทั่วไป มีความนิ่มเหนียว นำมาใช้ปั้น ตากแห้งหรือเผาเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้ ระบายสีได้

ดินน้ำมัน เป็นดินที่มีส่วนผสมของน้ำมันผสมอยู่ มีกลิ่นแรง เนื้อนิ่มเมื่อโดนความร้อน และแข็งได้เมื่อเจออากาศเย็น เหนียวติดมือไม่เหมาะกับเด็กเล็กๆ
ดินวิทยาศาสตร์ มีลักษณะนิ่ม มีหลายสี ไม่เหนียวติดมือเหมือนดินน้ำมัน และมักจะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปน จึงเหมาะสำหรับเด็ก



ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
   1.  สีเป็นองค์ประกอบของศิลปะที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น
    2.  สีเป็นวัตถุที่ได้จากธรรมชาติหรือจากที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
  - สีจากธรรมชาติ เช่น สีของดอกไม้ ใบไม้ ผล ราก ลำต้น
  - สีจากการสังเคราะห์ขึ้นมา เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีอะคริลิก สีฝุ่น สีน้ำมัน สีทาบ้าน สีพลาสติก ฯลฯ
ทฤษฎีสี (Theory of colors)
สีขั้นที่ 1
สีขั้นที่ 2

อิทธิพลของสีที่ให้ความรู้สึก
  สีเหลือง  ร้อนและเย็น สว่าง เลื่อมใส น่าศรัทธา สดชื่น
  สีแดง  ร้อนรุนแรง ตื่นเต้น เร้าใจ
  สีเขียว   เย็น เจริญงอกงาม สดชื่น
  สีน้ำเงิน  เย็น สงบเงียบ ความมั่นคง ความอุดมสมบูรณ์
  สีม่วง  เศร้า ลึกลับ ร้อนและเย็น มีเสน่ห์
  สีส้ม  ร้อน รุนแรง ตื่นเต้น
  สีน้ำตาล  ความแห้งแล้ง น่าเบื่อหน่าย
  สีดำ  เศร้า มืด หนักแน่น น่ากลัว
  สีเทา  สงบ สบายใจ เคร่งขรึม
  สีขาว   สะอาด บริสุทธิ์ เรียบง่าย สว่าง
  สีฟ้า  สว่าง มีชีวิตชีวา
  สีชมพู   ร่าเริง สดใส
หลังจากเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ได้มอบหมายงานให้กลับไปทำเป็นการบ้าน โดยแจกกระดาษ 2 แผ่นให้วาดภาพร่างต่อจุดเป็นภาพ ภาพที่ 1 เป็นสิ่งมีชีวิต ภาพที่ 2 เป็นสิ่งไม่มีชีวิต


ผลงานของฉัน

สิ่งไม่มีชีวิต  

ชื่อผลงาน   บอลลูนหลากสี

สิ่งมีชืวิต
ชื่อผลงาน   เจ้าเต่าน้อย

กิจกรรมการโชว์ผลงานทั้งหมด
  ซึ่งมีผลงานดังนี้
       1. วาดภาพต่อเติม
       2.ออกแบบลวดลาย
       3.เติมลวดลายลงในภาพวาด
       4.ร่างต่อภาพจุดสิ่งมีชีวิต
       5.ร่างต่อจุดภาพสิ่งไม่มีชีวิต

   ผลงานของทุกคน สวยงาม


การนำไปประยุกต์ใช้
 สามารถเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำผลงานศิลปะให้กับเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับการใช้งาน ประยุกต์รูปแบบกิจกรรมที่มีความหลากหลายในการเรียนรู้ของเด็กและนำไปใช้ในอาชีพครูในอนาคตได้

การประเมิน
     ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกครั้ง ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี มีความสนุกสนานในการทำกิจกรรม ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายจนเสร็จ
     ประเมินเพื่อน  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย มีความสามัคคีช่วยเหลือกันในกาตติดงานและคอยดูแลซึ่งกันและกัน
     ประเมินอาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี มีการแนะนำเทคนิคต่างๆในการทำงาน มีการสอดแทรกความรู้ขณะที่ทำกิจกรรมและเมื่อทำกิจกรรมเสร็จ










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น